วันอังคารที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2556

กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

วิทยาศาสตร์สำหรับชันประถมศึกษาปีที่ 6





ระบบนิเวศ

ความหมายของระบบนิเวศ

          ระบบนิเวศ(ecosystem) หมายถึง ระบบความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ร่วมกันในบริเวณนั้น และความ
สัมพันธ์ระหว่างกลุ่มสิ่งมีชีวิตกับสภาพแวดล้อมของแหล่งที่อยู่
 ได้แก่ ดิน น้ำ แสง ในระบบนิเวศจะมีการถ่ายทอดพลังงานระหว่างกลุ่มสิ่งมีชีวิตกลุ่มต่างๆ และมีการหมุนเวียนสารต่างๆจากสิ่งแวดล้อมสู่สิ่งมีชีวิตและจากสิ่งมีชีวิตสู่สิ่งแวดล้อม
ประเภทของระบบนิเวศ
         ระบบนิเวศมีอยู่ทุกหนทุกแห่งทั่วโลก มีมากมายหลายระบบ แต่ละระบบมีขนาดเล็กใหญ่
สลับซับซ้อนแตกต่างกัน โลกของเราจัดเป็นระบบนิเวศที่ใหญ่ที่สุด เรียกว่า โลกของสิ่งมีชีวิต
(biosphere) ซึ่งเป็นที่รวมระบบนิเวศหลากหลายระบบ


ส่วนที่จัดเป็นระบบนิเวศเล็ก ๆ เช่น ทุ่งหญ้า หนองน้ำ สระน้ำ ริมรั้ว ใต้ขอนไม้ผุ
ระบบนิเวศแบ่งได้เป็น 2 ระบบใหญ่ ๆ คือ

1. ระบบนิเวศตามธรรมชาติ
ได้แก่ ระบบนิเวศบนบก เช่น ป่าไม้ ทุ่งหญ้า ทะเลทราย

ระบบนิเวศแหล่งน้ำ แบ่งเป็นระบบนิเวศน้ำจืด เช่น แม่น้ำ ลำคลอง หนอง บึง

ระบบนิเวศน้ำเค็ม เช่น ทะเล มหาสมุทร

ระบบนิเวศน้ำกร่อย เช่น บริเวณปากแม่น้ำ

2. ระบบนิเวศที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น ระบบนิเวศชุมชนเมือง แหล่งเกษตรกรรม นิคมอุตสาหกรรม หรือแม้กระทั่ง
ตู้ปลา อ่างเลี้ยงปลา ก็จัดเป็นระบบนิเวศที่มนุษย์สร้างขึ้น
องค์ประกอบของระบบนิเวศ
         ระบบนิเวศบนโลกถึงแม้จะมีความหลากหลาย แต่ก็มีโครงสร้างที่คล้ายคลึงกัน คือ ประกอบไปด้วยส่วนสำคัญ 2 ส่วน คือ
1. ส่วนประกอบที่ไม่มีชีวิต (abiotic component ) ประกอบด้วย
อนินทรียสาร ได้แก่ ไนโตรเจน คาร์บอนไดออกไซด์ ออกซิเจน น้ำ และคาร์บอน
อินทรียสาร ได้แก่ คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน ฯลฯ
สภาพแวดล้อมทางกายภาพ ได้แก่ อุณหภูมิ แสง ความเป็นกรด เป็นด่าง ความเค็มและความชื้น
2. ส่วนประกอบที่มีชีวิต (biotic component) ได้แก่
ผู้ผลิต (producer)
ผู้บริโภค (consumer)
ผู้ย่อยสลาย (decomposer)

        ผู้ผลิต (producer) คือ สิ่งมีชีวิตที่สามารถนำพลังงานจากแสงอาทิตย์มาสังเคราะห์อาหารขึ้นได้เองด้วยแร่ธาตุและสสารที่มีอยู่ตามธรรมชาติ ได้แก่ พืชสีเขียว แพลงค์ตอนพืช และแบคทีเรียบางชนิด
ผู้บริโภค (consumer) คือ สิ่งมีชีวิตที่กินสิ่งมีชีวิตอื่นๆเป็นอาหาร แบ่งได้เป็น
- สิ่งมีชีวิตที่กินพืชเป็นอาหาร (herbivore) เช่น วัว ควาย กระต่าย
และปลาที่กินพืชเล็กๆ ฯลฯ
- สิ่งมีชีวิตที่กินสัตว์อื่นเป็นอาหาร (carnivore) เช่น เสือ สุนัข กบ สุนัขจิ้งจอก ฯลฯ
- สิ่งมีชีวิตที่กินทั้งพืช และสัตว์ ซึ่งเป็นลำดับการกินสูงสุด (omnivore) เช่น มนุษย์
ผู้ย่อยสลาย (decomposer) เป็นพวกย่อยสลายซากสิ่งมีชีวิตให้เป็นสารอินทรีย์ได้


     ความสัมพันธ์ของระบบนิเวศ มี 2 ลักษณะคือ

1. ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสภาพแวดล้อมทางกายภาพ ได้แก่ แสง , อุณหภูมิ , น้ำ , อากาศ ,ดินและแร่ธาตุในดิน


แสง เป็นปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตหลายชนิด เช่น

1. ในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช
2. การหุบและบานของดอกและใบของพืชหลายชนิด เช่น ใบไมยราบ ใบกระถิน
3. มีอิทธิพลต่อเวลาการออกอาหารของสัตว์
อุณหภูมิ เป็นปัจัยสำคัญที่มีอิธิพลต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตหลายประการ เช่น
1. อุณหภูมิมีผลต่อการหุบและบานของดอกไม้บางชนิด เช่น ดอกบัวจะบานตอนกลางวันและจะหุบในตอนกลางคืน
2. อุณหภูมิมีผลต่อพฤติกรรมบางประการของสัตว์ เช่น การจำศีลมนฤดูหนาวของหมีขั้วโลก
3. อุณหภูมิมีผลต่อลักษณะและรูปร่างของสิ่งมีชีวิต เช่น สัตว์ในเขตหนาวจะมีขนาดตัวที่ใหญ่กว่าสัตว์ในเขตร้อน หรือสัตว์บางชนิดที่อยู่ในเขตหนาวจะมีขนหนากว่าสัตว์ในเขตร้อน
น้ำ เป็นปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิต เช่น
1. น้ำเป็นวัตถุดิบในการบวนการสังเคราะห์ด้วยแวงของพืช และน้ำยังเป็นตัวทำละลายที่สำคัญที่ทำให้แร่ธาตุต่างๆที่มีอยู่ในดินละลายและซึมสู่พื้นดินเพื่อให้พืชสามารถนำไปใช้ได้
2. น้ำเป็นปัจจัยที่มีผลต่อการงอกของเมล็ด
3. น้ำเป็นส่วนประกอบในเซลล์ร่างกายของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด
4. น้ำเป็นสื่อกลางในการช่วยขับของเสียออกจากร่างการของสิ่งมีชีวิต
ดินและแร่ธาตุในดิน เป็นปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อการดำรงชีวิต
1. ดินเป็นแล่งที่อยู่ของพืช อีกทั้งยังให้แร่ธาตุที่จำเป็นในการดำรงชีวิต
2. ดินช่วยในการกักเก็บน้ำและอากาศ
3. ดินเป็นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตเกือบทุกชนิดบนโลก
อากาศเป็นปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิต เช่น
1. อากาศมีแก๊สออกซิเจน ซึ่งเป็นส่วนประกอบที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตแทบทุกชนิด
2. อากาศมีแก๊สออกซิเจน ที่ผสมอยู่ช่วยในการเผาไหม้
2. ความสัมพันธ์ระหว่างสางมีชีวิตที่อาศัยอยู่ร่วมกันในระบบนิเวศ
2. ความสัมพันธ์ระหว่างสางมีชีวิตที่อาศัยอยู่ร่วมกันในระบบนิเวศ
ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตในสายใยอาหารมีหลายรูปแบบ

2.1ภาวะล่าเหยื่อ ( Predation ) หมายถึง การอยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิตโดยฝ่ายหนึ่งจับอีกฝ่ายหนึ่งเป็นอาหาร เรียกว่า ผู้ล่า (predator) ส่วนฝ่ายที่ถูกจับเป็นอาหารหรือถูกล่า เรียกว่า เหยื่อ ( prey) เช่น -กบกับแมลง :กบเป็นผู้ล่า แมลงเป็นผู้ถูกล่า และเหยี่ยวกับหนู:เหยี่ยวเป็นผู้ล่าส่วนหนูเป็นผู้ถูกล่า
2.2ภาวะพึ่งพา ( Mutualism ) หมายถึง การอยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิต 2 ชนิดโดยต่างก็ไ ด้รับประโยชน์ซึ่งกันและกัน หากแยกกันอยู่จะไม่สามารถดำรงชีวิตต่อไปได้ เช่น
- ไลเคนส์ ( Lichens) : สาหร่ายอยู่ร่วมกับสาหร่าย สาหร่ายได้รับความชื้นและแร่ธาตุจากรา ราได้รับอาหารและออกซิเจนจากสาหร่าย
2.3ภาวะการได้ประโยชน์ ( Protocooperation ) หมายถึง การอยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิต2 ชนิด โดยก็ได้รับประโยชน์ซึ่งกันและกัน แม้แยกกันอยู่ก็สามารถดำรงชีวิตได้ตามปกติ เช่น - แมลงกับดอกไม้ : แมลงได้รับน้ำหวานจากดอกไม้ ส่วนดอกไม้ได้แมลงช่วยผสมเกสรทำให้แพร่พันธุ์ได้ดีขึ้น
2.4ภาวะอิงอาศัยหรือภาวะเกื้อกูล ( Commensalism ) หมายถึง การอยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิต2 ชนิด โดยฝ่ายหนึ่งได้ประโยชน์ อีกฝ่ายหนึ่งไม่ได้และไม่เสียประโยชน์ เช่น
- ปลาฉลามกับเหาฉลาม : เหาฉลามเกาะติดกับปลาฉลาม ได้เศษอาหารจากปลาฉลามโดยปลาฉลามก็ไม่ได้และไม่เสียประโยชน์อะไร
- พืชอิงอาศัย ( epiphyte) บนต้นไม้ใหญ่ : พืชอิงอาศัย เช่น ชายผ้าสีดาหรือกล้วยไม้เกาะอยู่บนต้นไม้ใหญ่ ได้รับความชุ่มชื้น ที่อยู่อาศัยและแสงสว่างที่เหมาะสมโดยต้นไม้ใหญ่ไม่ได้และไม่เสียประโยชน์ใดๆ
- นก ต่อ แตน ผึ้ง ทำรังบนต้นไม้ : สัตว์เหล่านี้ได้ที่อยู่อาศัย หลบภัยจากศัตรูธรรมชาติโดยต้นไม้ไม่ได้และไม่เสียประโยชน์อะไร
2.5ภาวะปรสิต ( Parasitism ) หมายถึง การอยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิต 2 ชนิด โดยฝ่ายหนึ่งได้ประโยชน์ เรียกว่า ปรสิต ( parasite) อีกฝ่ายหนึ่งเสียประโยชน์เรียกว่าผู้ถูกอาศัย( host) เช่น
- เห็บ เหา ไร หมัด บนร่างกายสัตว์ : ปรสิตภายนอก ( ectoparasite) เหล่านี้ดูดเลือดจากร่างกายสัตว์จึงเป็นฝ่ายได้ประโยชน์ ส่วนสัตว์เป็นฝ่ายเสียประโยชน์
- พยาธิ ในร่างกายสัตว์ :ปรสิตภายใน (endoparasite) จะดูดสารอาหารจากร่างกายสัตว์จึงเป็นฝ่ายได้ประโยชน์ส่วนสัตว์เป็นฝ่ายเสียประโยชน์
2.6ภาวะมีการย่อยสลาย (Saprphytism) เป็นความสัมพันธ์ที่กลุ่มสิ่งมีชีวิตที่เป็นผู้ย่อยสลายอินทรียสารได้แก่ แบคทีเรีย ,เห็ด , รา จะสร้างสารออกมาย่อยสลายซากสิ่งมีชีวิตบางส่วนของสารที่ย่อยแล้ว จะดูดกลับไกใช้ในการดำรงชีวิต



การหมุนเวียงของสารในระบบนิเวศ        
          โดยทั่วไปในสภาวะแวดล้อมจะมีแร่ธาตุและสารต่าง ๆ เป็นองค์ประกอบอยู่แล้วตามธรรมชาติ สิ่งมีชีวิตไม่เพียงแต่ใช้ แร่ธาตุและสารจากธรรมชาติ แต่กิจกรรมการดำรงชีวิตก็มีการปล่อย สารบางอย่างกลับคืนสู่ธรรมชาติด้วย วนเวียนกันเป็นวัฏจักร

การหมุนเวียงน้ำในระบบนิเวศ     
         น้ำเป็นสิ่งจำเป็นต่อชีวิตอย่างยิ่ง น้ำเป็นตัวกลางของกระบวนการต่าง ๆ ในสิ่งมีชีวิต จากการวิเคราะห์องค์ประกอบของเซลล์ของสิ่งมีชีวิต พบว่ามีน้ำเป็นองค์ประกอบในปริมาณมาก
        บางชนิดมีน้ำเป็นองค์ประกอบในเซลล์ถึงร้อยละ 95 สิ่งมีชีวิตจำนวนมากอาศัยน้ำเป็นแหล่งที่อยู่
เพราะผิวโลกเราประกอบด้วยพื้นน้ำถึง 3 ใน 4 ส่วน

        การหมุนวียงไนโตรเจนในระบบนิเวศนโตรเจนเป็นแร่ธาตุสำคัญที่พืชต้องการในปริมาณมาก พืชจะใช้ไนโตรเจนในรูปของ สารประกอบพวกเกลือแอมโมเนีย เกลือไนไตร เกลือไนเตรต เพื่อสร้างสารประกอบอื่น ๆ ในเซลล์ ส่วนสัตว์จะได้รับสารดังกล่าว โดยถ่ายทอดมาในสายใยอาหาร สิ่งมีชีวิตในดิน พวกจุลินทรีย์ เช่น แบคทีเรียไรโซเบียม ในปมรากพืชตระกูลถั่ว แบคทีเรียที่ดำรงชีพอิสระ ในดิน และสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินบางชนิด สามารถตรึงไนโตรเจนจากบรรยากาศ แล้วเปลี่ยนเป็นสารประกอบของไนโตรเจนที่พืชสามารถนำไปใช้ได้ ในขณะเดียวกันก็มี จุลินทรีย์บางชนิดที่เป็นผู้ย่อยสลายอินทรีย์สารย่อยสลายซากพืชและสัตว์ที่ตายลง กลาย เป็นไนโตรเจนอิสระกลับคืนสู่บรรยากาศ และได้สารประกอบไนโตรเจนในดินที่พืชสามารถ นำไปใช้ได้ นอกจากนี้ไนโตรเจนอีกส่วนหนึ่งจะกลับคืนสู่บรรยากาศ โดยสัตว์ขับถ่ายสาร ประกอบไนโตรเจนในรูปของแอมโมเนีย พืชบางชนิด เช่น - หม้อข้าวหม้อแกงลิง หยาดน้ำค้าง กาบหอยแครง ได้รับสารประกอบไนโตรเจนแตกต่าง จากพืชอื่น โดยมีส่วนของใบเปลี่ยนแปลงไปคลายกับดักแมลง เมื่อแมลงตกลงไปจะมี เอนไซม์ย่อยเนื้อเยื่อแมลง ได้เป็นสารประกอบไนโตรเจนที่เข้าสู่เซลล์พืชได้ 
การหมุนเวียงคาร์บอนในระบบนิเวศ
        คาร์บอนเป็นองค์ประกอบสำคัญอย่างหนึ่งของสารที่พบในสิ่งมีชีวิตทุกชนิด คาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศถูกพืชนำมาเปลี่ยนแปลงเป็นสารอินทรีย์ที่มีคาร์บอน เป็นองค์ประกอบในพืชโดยกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง สัตว์ได้รับสารที่มีคาร์บอน เป็นองค์ประกอบโดยการกินอาหาร สำหรับกลุ่มผู้ย่อยสลายอินทรีย์สาร ก็ได้รับสาร คาร์บอนจากกระบวนการย่อยสลาย สิ่งมีชีวิตทุกชนิดปล่อยคาร์บอนกลับคืนสู่บรรยากาศ โดยการหายใจออกในรูปของคาร์บอน ไดออกไซด์ ซึ่งพืชก็นำมาใช้ในกระบวนการสังเคราะห์ ด้วยแสงอีก ในระบบนิเวศ จึงมีการหมุนเวียนคาร์บอนตลอดเวลา
ข้อมูลทั้งได้อ้างอิงมาจาก



สิ่งแวดล้อม


                                    


      
                 สิ่งแวดล้อมมีทั้งสิ่งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิตเกิดจากการกระทำของมนุษย์หรือมีอยู่ตามธรรมชาติ เช่น อากาศ ดิน หิน แร่ธาตุ น้ำ ห้วย หนอง คลอง บึง ทะเลสาบ ทะเล มหาสมุทร พืชพรรณสัตว์ต่าง ๆ ภาชนะเครื่องใช้ต่าง ๆ ฯลฯ สิ่งแวดล้อมดังกล่าวจะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ โดยเฉพาะมนุษย์เป็นตัวการสำคัญยิ่งที่ทำให้สิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลงทั้งในทางเสริมสร้างและทำลาย

         จะเห็นว่า ความหมายของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด ต่างกันที่สิ่งแวดล้อมนั้นรวมทุกสิ่งทุกอย่างที่ปรากฎอยู่รอบตัวเรา ส่วนทรัพยากรธรรมชาติเน้นสิ่งที่อำนวยประโยชน์แก่มนุษย์มากกว่าสิ่งอื่น

ประเภทของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ก. ทรัพยากรธรรมชาติ แบ่งตามลักษณะที่นำมาใช้ได้ 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
1. ทรัพยากรธรรมชาติประเภทใช้แล้วไม่หมดสิ้น ได้แก่
1) ประเภทที่คงอยู่ตามสภาพเดิมไม่มีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ เลย เช่น พลังงาน จากดวงอาทิตย์ ลม อากาศ ฝุ่น ใช้เท่าไรก็ไม่มีการเปลี่ยนแปลงไม่รู้จักหมด
2) ประเภทที่มีการเปลี่ยนแปลงได้ เนื่องจากถูกใช้ในทางที่ผิด เช่น ที่ดิน น้ำ ลักษณะภูมิประเทศ ฯลฯ ถ้าใช้ไม่เป็นจะก่อให้เกิดปัญหาตามมา ได้แก่ การปลูกพืชชนิดเดียวกันซ้ำ ๆ ซาก ๆ ในที่เดิม ย่อมทำให้ดินเสื่อมคุณภาพ ได้ผลผลิตน้อยลงถ้าต้องการให้ดินมีคุณภาพดีต้องใส่ปุ๋ยหรือปลูกพืชสลับและหมุนเวียน
2. ทรัพยากรธรรมชาติประเภทใช้แล้วหมดสิ้นไป ได้แก่
1) ประเภทที่ใช้แล้วหมดไป แต่สามารถรักษาให้คงสภาพเดิมไว้ได้ เช่น ป่าไม้ สัตว์ป่า ประชากรโลก ความอุดมสมบูรณ์ของดิน น้ำเสียจากโรงงาน น้ำในดิน ปลาบางชนิด ทัศนียภาพอันงดงาม ฯลฯ ซึ่งอาจทำให้เกิดขึ้นใหม่ได้
2) ประเภทที่ไม่อาจทำให้มีใหม่ได้ เช่น คุณสมบัติธรรมชาติของดิน พร สวรรค์ของมนุษย์ สติปัญญา เผ่าพันธุ์ของมนุษย์ชาติ ไม้พุ่ม ต้นไม้ใหญ่ ดอกไม้ป่า สัตว์บก สัตว์น้ำ ฯล
3) ประเภทที่ไม่อาจรักษาไว้ได้ เมื่อใช้แล้วหมดไป แต่ยังสามารถนำมายุบให้ กลับเป็นวัตถุเช่นเดิม แล้วนำกลับมาประดิษฐ์ขึ้นใหม่ เช่น โลหะต่าง ๆ สังกะสี ทองแดง เงิน ทองคำ ฯล
4) ประเภทที่ใช้แล้วหมดสิ้นไปนำกลับมาใช้อีกไม่ได้ เช่น ถ่านหิน น้ำมันก๊าซ อโลหะส่วนใหญ่ ฯลฯ ถูกนำมาใช้เพียงครั้งเดียวก็เผาไหม้หมดไป ไม่สามารถนำมาใช้ใหม่ได้
ทรัพยากรธรรมชาติหลักที่สำคัญของโลก และของประเทศไทยได้แก่ ดิน ป่าไม้ สัตว์ป่า น้ำ แร่ธาตุ และประชากร (มนุษย์)
ข. สิ่งแวดล้อม
สิ่งแวดล้อมของมนุษย์ที่อยู่รอบ ๆ ตัว ทั้งสิ่งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต ซึ่งเกิดจาก การกระทำของมนุษย์แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ
2. สิ่งแวดล้อมทางวัฒนธรรม หรือสิ่งแวดล้อมประดิษฐ์ หรือมนุษย์เสริมสร้างกำหนดขึ้น
สิ่งแวดล้อมธรรมชาติ จำแนกได้ 2 ชนิด คือ
1) สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ ได้แก่ อากาศ ดิน ลักษณะภูมิประเทศ ลักษณะ ภูมิอากาศ ทัศนียภาพต่าง ๆ ภูเขา ห้วย หนอง คลอง บึง ทะเลสาบ ทะเล มหาสมุทรและทรัพยากรธรรมชาติทุกชนิด
2) สิ่งแวดล้อมทางชีวภาพหรือชีวภูมิศาสตร์ ได้แก่ พืชพันธุ์ธรรมชาติต่าง ๆ สัตว์ป่า ป่าไม้ สิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ที่อยู่รอบตัวเราและมวลมนุษย์
สิ่งแวดล้อมทางวัฒนธรรม หรือสิ่งแวดล้อมประดิษฐ์ หรือมนุษย์เสริมสร้างขึ้น ได้แก่ สิ่งแวดล้อมทางสังคมที่มนุษย์เสริมสร้างขึ้นโดยใช้กลวิธีสมัยใหม่ ตามความเหมาะสมของสังคม เศรษฐกิจ การเมือง ศาสนา และวัฒนธรรม เช่น เครื่องจักร เครื่องยนต์ รถยนต์ พัดลม โทรทัศน์ วิทยุ ฝนเทียม เขื่อน บ้านเรือน โบราณสถาน โบราณวัตถุท อื่น ๆ ได้แก่ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย ค่านิยม และสุขภาพอนามัย

       สิ่งแวดล้อมมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ซึ่งเกิดจากสาเหตุ 2 ประการ คือ
1) มนุษย์
2) ธรรมชาติแวดล้อม มนุษย์ เป็นตัวการเปลี่ยนแปลงสังคมเพื่อผลประโยชน์ของตนเอง มากกว่าสิ่ง อื่น เช่น ชอบจับปลาในฤดูวางไข่ ใช้เครื่องมือถี่เกินไปทำให้ปลาเล็ก ๆ ติดมาด้วย ลักลอบตัดไม้ทำลายป่า เพื่อนำมาสร้างที่อยู่อาศัย ส่งเป็นสินค้า หรือเพื่อใช้พื้นที่เพาะปลูกปล่อยของเสียจากโรงงานและไอเสียจากรถยนต์ทำให้สิ่งแวดล้อมเป็นพิษ (น้ำเน่า อากาศเสีย)
ธรรมชาติแวดล้อม ส่วนใหญ่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างช้า ๆ เช่น แม่น้ำที่พัดพาตะกอนไปทับถมบริเวณน้ำท่วม และปากแม่น้ำต้องใช้เวลานานจึงจะมีตะกอนมาก การกัดเซาะพังทลายของดินก็เช่นเดียวกัน ส่วนการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วนั้นเกิดจากแรงภายในโลก เช่น แผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด อื่น ๆ ได้แก่ อุทกภัยและวาตภัย ไฟป่า เป็นต้น ซึ่งภัยธรรมชาติดังกล่าวจะไม่เกิดบ่อยครั้งนัก
          สรุป มนุษย์เป็นตัวการสร้าง และทำลายสิ่งแวดล้อมมากกว่าธรรมชาติ ความสำคัญของทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม
สหรัฐอเมริกา ได้ส่งดาวเทียมสำรวจทรัพยากรโลก (Earth Resources Technology Satellite หรือ ERTS) ดวงแรกของโลกเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2515 ดาวเทียมนี้จะโคจรรอบโลกจากขั้วโลกเหนือไปทางขั้วโลกใต้รวม 14 รอบต่อวันและจะโคจรกลับมาจุดเดิมอีกทุก ๆ 18 วัน ข้อมูลที่ได้จากดาวเทียมจะมีทั้งรูปภาพและเทปสมองกลบันทึกไว้ ซึ่งมีประโยชน์อย่างยิ่งในการช่วยแก้ปัญหาเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติของโลก ส่วนประเทศไทยก็ได้รับข้อมูล และภาพที่เป็นประโยชน์ในด้านการเกษตร การสำรวจทางธรณีวิทยา ป่าไม้ การชลประทาน การประมง หลังจากที่สหรัฐส่งดาวเทียมดวงแรกได้ 1 ปีแล้ว ได้ส่งสกายแล็บ และดาวเทียมตามโครงการดังกล่าวอีก 2 ดวง ในปี พ.ศ. 2520 และ พ.ศ. 2522 นับว่ามีส่วนช่วยส่งเสริมพัฒนาความรู้ในเรื่องทรัพยากรธรรมชาติและการวางโครงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติทุกชนิดบนพื้นโลก
ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ ได้แก่ ป่าไม้ สัตว์ป่าและปลา น้ำ ดิน อากาศ แร่ธาตุ มนุษย์และทุ่งหญ้า 



ทรัพยากรแร่

                      


            ความหมายของแร่ธาตุ หมายถึง ธาตุและสารประกอบที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติบนพื้นโลก บนอากาศ หิน ดิน น้ำ แร่ส่วนมาก
จะพบในลักษณะเป็นสารอนินทรีย์เคมี แร่ที่พบในลักษณะของเหลวมีเพียง 3 แร่ คือ ปรอท โปรมีน น้ำ แร่ที่มี สารประกอบอินทรีย์เคมีหรือเกิดจากการเปลี่ยนแปลงสะสมตัวของสิ่งที่มีชีวิตมีอยู่ 2 แร่คือ ปิโตรเลียมและถ่านหิน แร่ที่พบในลักษณะธาตุแท้ ๆ เช่น ทองคำ ทองคำขาว เงิน แร่ที่พบในสภาพก๊าซก็พบทั้งที่สะสมตัวอยู่ใต้โลก ในบรรยากาศที่หุ้มห่อโลกโดยทั่ว ๆ ไป แร่ที่พบโดยทั่วไปจะมีคุณสมบัติเป็นสารประกอบ โดยมีออกซิเจน กำมะถัน ซิลิกอนประกอบอยู่ด้วยเสมอ

 การแบ่งประเภทของทรัพยากรแร่
          แร่ คือ สารอนินทรีย์ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ อาจจะเป็นธาตุแท้หรือสารประกอบของธาตุตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไป แร่จึงมีองค์ประกอบทางเคมีคงที่ และมีคุณสมบัติทางฟิสิกส์เฉพาะตัว เช่น มีลักษณะรูปร่าง สี ความวาว ความแข็ง รอยแยก และผิวแตก เป็นต้น แร่ในโลกนี้เท่าที่พบแล้วมีมากกว่า 2,000 ชนิด

แบ่งออกเป็นกลุ่มต่าง ๆ ตามองค์ประกอบทางเคมีได้ดังนี้

1. แร่ธาตุธรรมชาติ เช่น ทอง เงิน กำมะถัน เพชร
2. แร่ซัลไฟด์ เช่น ตะกั่ว พลวง โมลิบดินัม
3. แร่ออกไซด์ เช่น ดีบุก เหล็ก แมงกานีส พลอย ทับทิม
4. แร่คาร์บอเนต เช่น สังกะสี ทองแดง แคลไซด์
5. แร่ซัลเฟต เช่น แบไรท์ ยิบซั่ม
6. แร่ฟอสเฟส เช่น อปาไทท์
7. แร่ซิลิเกต เช่น ควอทซ์ โกเมน มรกต หยก ดินขาว
8. แร่ทังสเตน เช่น ซีไลท์ วุลแฟรมไมท์
9. แร่เซไลด์ เช่น ฟลูออไรด์ หินเกลือ
นอกจากการจัดกลุ่มของแร่ตามองค์ประกอบทางเคมีดังกล่าวแล้ว การแบ่งประเภทของทรัพยากรแร่
โดยทั่วไปมักนิยมแบ่งตามลักษณะการใช้ประโยชน์ หรือตามคุณสมบัติทางฟิสิกส์ของมัน ดังนี้
การจัดกลุ่มตามคุณสมบัติทางฟิสิกส์ แบ่งได้เป็น 3 กลุ่มดังนี้
1. แร่ธาตุประเภทโลหะ
2. แร่ธาตุประเภทอโลหะ
3. แร่ธาตุประเภทเชื้อเพลิง


ถ้าจัดกลุ่มตามลักษณะของการใช้ประโยชน์จากแร่นั้น ๆ ก็แบ่งได้เป็น 4 กลุ่มดังนี้

1. แร่ที่ต้องนำไปแปรสภาพเสียก่อนจึงจะนำมาใช้ประโยชน์ได้ เช่น เหล็ก ต้องนำมาถลุงเสียก่อน จึงนำไปทำ
วัตถุสำเร็จรูปอื่น ๆ ได้
2. แร่ที่ใช้เป็นตัวประกอบที่ช่วยทำให้แร่ชนิดอื่น ๆ มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ เช่น หินปูนที่ใช้ในการถลุง
เหล็กกล้าและทำให้ไม่เกิดสนิม ซึ่งเราเรียกว่าสแตนเลส เป็นต้น
3. แร่ที่เป็นเชื้อเพลิง เช่น ถ่านหิน ปิโตรเลียม ก๊าซธรรมชาติ และยูเรเนียม เป็นต้น
4. แร่ที่ใช้เป็นปุ๋ย ทำให้ดินอุดมสมบูรณ์ เช่น โปรแตส และฟอสเฟต เป็นต้น


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น