วันอังคารที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2556

กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย

ภาษาไทยสำหรับชั้นประถมศึกษา

คำนาม


คำนาม หมายถึง คำที่ใช้เรียกชื่อคน  สัตว์ พืช  สิ่งของ  สภาพ  ลักษณะ   แบ่งออกเป็นชนิดย่อยได้ ๕ ชนิด

คำนามสามัญ (สามานยนาม) เป็นคำที่ใช้เรียกชื่อทั่วไป   เช่น  คน  แมว   ปู  เสือ  ปลา  หอย  เป็ด  ไก่  นก  ฯลฯ
คำชื่อเฉพาะ (วิสามานยนาม)  เป็นชื่อเฉพาะของคน  สัตว์  พืช  สิ่ง ของ  สถานที่   เช่น  พิษณุโลก  พรหมพิรามวิทยา  ไอ้ตูบ  เจ้าด่าง   พิชัย   นายสิทธิศักดิ์  เป็นต้น
๓. คำนามรวมหมู่ (สมุหนาม)  เป็นนามที่ใช้เรียกนามซึ่งอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม เป็นหมวดหมู่  เช่น  กอง  กลุ่ม  หมู่  ฝูง  โขลง  พวก  พรรค  วง  ฯลฯ
คำนิยมธรรม ( อาการนาม)  คือคำนามที่ใช้ “การ” หรือ “ความ” นำหน้าคำกริยา และใช้ “ความ” นำหน้าคำวิเศษณ์  เช่น  การเดิน  การนอน  การวิ่ง  การเกิด  ความรัก  ความตาย   ความคิด  ความดี  ความรู้  ฯลฯ
        ๕คำลักษณนาม  เป็นคำบอกลักษณะของนาม   แบ่งย่อยได้  ๖ ชนิด  ดังนี้
       .๑ ลักษณนามบอกชนิด   เช่น  รูป  ใช้ กับ ภิกษุ  สามเณร เล่ม  ใช้กับ    หนังสือ  เกวียน  เทียน  เข็ม  ตะไกร  ใบ     ใช้กับ   ตู้  หม้อ  ตุ่ม  หมอ
      .๒ ลักษณนามบอกหมวดหมู่   เช่น  ฝูง    ใช้กับ  วัว  ควาย  ปลา  นก  กอง  ใช้กับ  ทหาร  ลูกเสือ  อิฐ  ทราย  ผ้าป่า   นิกาย  ใช้กับ  ศาสนา  ลัทธิ
      ๕.๓ ลักษณนามบอกสัณฐาน   เช่น  วง   ใช้กับ  แหวน   วงกลม  ตะกร้อ  สักวา   วงดนตรี   แตรวง  หลัง  ใช้กับ  เรือน  มุ้ง  ตึก
แผ่น  ใช้กับ  กระดาษ  กระดาน  กระเบื้อง  สังกะสี  บาน   ใช้กับ  ประตู   หน้าต่าง  กระจกเงา  กรอบรูป
      .  ลักษณนามบอกจำนวนและมาตรา   เช่น คู่   ใช้กับ  รองเท้า  ถุงเท้า  ช้อนส้อม  โหล  ใช้กับ  ของที่รวมกันจำนวน  ๑๒ ชิ้น  เช่น  สมุด  ดินสอ  ปากกา
     ๕.  ลักษณนามบอกอาการ   เช่น  จีบ      ใช้กับ   พลู  จับ ใช้กับ  ขนมจีน   มวน    ใช้กับ   บุหรี่
    ๕.  ลักษณนามซ้ำชื่อ    เช่น เมือง   ประเทศ    ตำบล   จังหวัด   ทวีป   ฯลฯ


คำสรรพนาม





           คำสรรพนาม คือ คำที่ใช้แทนนามในประโยคสื่อสาร เราใช้คำสรรพนามเพื่อไม่ต้องกล่าวคำนามซ้ำๆ
ชนิดของคำสรรพนาม แบ่งเป็น ๗ ประเภท ดังนี้
๑. สรรพนามที่ใช้ในการพูด (บุรุษสรรพนาม) เป็นสรรพนามที่ใช้ในการพูดจา สื่อสารกัน ระหว่างผู้ส่งสาร (ผู้พูด) ผู้รับสาร (ผู้ฟัง) และผู้ที่เรากล่าวถึง มี ๓ ชนิด ดังนี้
๑) สรรพนามบุรุษที่ ๑ ใช้แทนผู้ส่งสาร (ผู้พูด) เช่น ฉัน ดิฉัน ผม ข้าพเจ้า เรา หนู เป็นต้น
๒) สรรพนามบุรุษที่ ๒ ใช้แทนผู้รับสาร (ผู้ที่พูดด้วย) เช่น ท่าน คุณ เธอ แก ใต้เท้า เป็นต้น
๓) สรรพนามบุรุษที่ ๓ใช้แทนผู้ที่กล่าวถึง เช่น ท่าน เขา มัน เธอ แก เป็นต้น
๒. สรรพนามที่ใช้เชื่อมประโยค (ประพันธสรรพนาม)สรรพนามนี้ใช้แทนนามหรือสรรพนามที่อยู่ข้างหน้าและต้องการ
จะกล่าวซ้ำอีกครั้งหนึ่ง นอกจากนี้ยังใช้เชื่อมประโยคสองประโยคเข้าด้วยกัน ตัวอย่างเช่น
บ้านที่ทาสีขาวเป็นบ้านของเธอ(ที่แทนบ้าน เชื่อมประโยคที่ 1บ้านทาสีขาว กับ ประโยคที่ ๒ บ้านของเธอ)
๓. สรรพนามบอกความชี้ซ้ำ (วิภาคสรรพนาม) เป็นสรรพนามที่ใช้แทนนามที่อยู่ข้างหน้า เมื่อต้องการเอ่ยซ้ำ โดยที่ไม่ต้องเอ่ยนามนั้นซ้ำอีก และเพื่อแสดงความหมายแยกออกเป็นส่วนๆ ได้แก่คำว่า บ้าง ต่าง กัน ตัวอย่างเช่น
นักศึกษาต่างแสดงความคิดเห็น
สตรีกลุ่มนั้นทักทายกัน
นักกีฬาตัวน้อยบ้างก็วิ่งบ้างก็กระโดดด้วยความสนุกสนาน
๔. สรรพนามชี้เฉพาะ (นิยมสรรพนาม) เป็นสรรพนามที่ใช้แทนคำนามที่กล่าวถึงที่อยู่ เพื่อระบุให้ชัดเจนยิ่งขึ้น ได้แก่คำว่า นี่ นั่น โน่น โน้น ตัวอย่างเช่น
นี่เป็นหนังสือที่ได้รับรางวัลซีไรต์ในปีนี้
นั่นรถจักรายานยนต์ของเธอ
๕. สรรพนามบอกความไม่เจาะจง (อนิยมสรรพนาม) คือ สรรพนามที่ใช้แทนนามที่กล่าวถึงโดยไม่ต้องการคำตอบ
ไม่ชี้เฉพาะเจาะจง ได้แก่คำว่า ใคร อะไร ที่ไหน ผู้ใด สิ่งใด ใครๆ อะไรๆๆ ใดๆ ตัวอย่างเช่น
ใครๆก็พูดเช่นนั้น
ใครก็ได้ช่วยชงกาแฟให้หน่อย
ใดๆในโลกล้วนอนิจจัง
ไม่มีอะไรที่เราทำไม่ได้
๖. สรรพนามที่เป็นคำถาม (ปฤจฉาสรรพนาม) คือ สรรพนามที่ใช้แทนนามเป็นการถามที่ต้องการคำตอบ ได้แก่คำว่า ใคร อะไร ไหน ผู้ใด ตัวอย่างเช่น
ใครหยิบหนังสือบนโต๊ะไป
อะไรวางอยู่บนเก้าอี้
ไหนปากกาของฉัน
ผู้ใดเป็นคนรับโทรศัพท์
๗. สรรพนามที่เน้นตามความรู้สึกของผู้พูด สรรพนามชนิดนี้ใช้หลักคำนามเพื่อบอกความรู้สึกของผู้พูดที่มีต่อบุคคล
ที่กล่าวถึง ตัวอย่างเช่น
คุณพ่อท่านเป็นคนอารมณ์ดี (บอกความรู้สึกยกย่อง)
คุณจิตติมาเธอเป็นคนอย่างงี้แหละ (บอกความรู้สึกธรรมดา)
หน้าที่ของคำสรรพนาม
๑. ทำหน้าที่เป็นประธานของประโยค เช่น ใครมา แกมาจากไหน นั่นของฉันนะ เป็นต้น
๒. ทำหน้าที่เป็นกรรมของประโยค เช่น เธอดูนี่สิ สวยไหม เป็นต้น
๓. ทำหน้าที่เป็นส่วนเติมเต็ม เช่น เสื้อของฉันคือนี่ สีฟ้าใสเห็นไหม เป็นต้น
๔. ทำหน้าที่ตามหลังบุพบท เช่น เธอเรียนที่ไหน เป็นต้น 


คำกริยา



         คำกริยา คือ คำที่แสดงอาการ สภาพ หรือการกระทำของคำนาม และคำสรรพนามในประโยค คำกริยาบางคำอาจมี
ความหมายสมบูรณ์ในตัวเอง บางคำต้องมีคำอื่นมาประกอบ และบางคำต้องไปประกอบคำอื่นเพื่อขยายความ
ชนิดของคำกริยา คำกริยาแบ่งออกเป็น ๕ ชนิด ดังนี้ 
๑. กริยาที่ไม่ต้องมีกรรมมารับ (อกรรมกริยา) เป็นกริยาที่มีความหมายสมบูรณ์ ชัดเจนในตัวเอง เช่น
ครูยืน 
น้องนั่งบนเก้าอี้
ฝนตกหนัก
เด็กๆหัวเราะ
คุณลุงกำลังนอน
๒. กริยาที่ต้องมีกรรมมารองรับ (สกรรมกริยา) เป็นกริยาที่ต้องมีกรรมมารับจึงจะได้ใจความสมบูรณ์ เช่น
แม่ค้าขายผลไม้
น้องตัดกระดาษ
ฉันเห็นงูเห่า
พ่อซื้อของเล่นมาให้น้อง
๓. กริยาที่ต้องมีคำมารับ คำที่มารับไม่ใช่กรรมแต่เป็นส่วนเติมเต็ม (วิกตรรถกริยา) คือ คำกริยานั้นต้องมี
คำนามหรือสรรพนามมาช่วยขยายความหมายให้สมบูรณ์ เช่นคำว่า เป็น เหมือน คล้าย เท่าคือ เสมือน ดุจ เช่น
ชายของฉันเป็นตำรวจ
เธอคือนักแสดงที่ยิ่งใหญ่
ลูกดุจแก้วตาของพ่อแม่
แมวคล้ายเสือ
๔. กริยาช่วย (กริยานุเคราะห์) เป็นคำที่เติมหน้าคำกริยาหลักในประโยคเพื่อช่วยขยายความหมายของคำกริยาสำคัญ
ให้ชัดเจนยิ่งขึ้น เช่นคำว่า กำลัง จะ ได้ แล้ว ต้อง อย่า จง โปรด ช่วย ควร คงจะ อาจจะ เป็นต้น เช่น
เขาไปแล้ว
โปรดฟังทางนี้
เธออาจจะถูกตำหนิ
ลูกควรเตรียมตัวให้พร้อม
เขาคงจะมา
จงแก้ไขงานให้เรียบร้อย
ข้อสังเกต กริยาคำว่า ถูก ตามปกติจะใช้กับกริยาที่มีความหมายไปในทางไม่ดี เช่น ถูกตี ถูกดุ ถูกตำหนิ ถ้าความหมายในทางดีอาจใช้คำว่า ได้รับ เช่น ได้รับคำชมเชย ได้รับเชิญ เป็นต้น
๕. กริยาที่ทำหน้าที่คล้ายนาม (กริยาสภาวมาลา) เป็นคำกริยาที่ทำหน้าที่คล้ายกับคำนาม อาจเป็นประธาน เป็นกรรม หรือบทขยายของประโยคก็ได้ เช่น
เขาชอบออกกำลังกาย (ออกกำลังกายเป็นคำกริยาที่ทำหน้าที่คล้ายนาม เป็นกรรมของประโยค)
กินมากทำให้อ้วน (กินมากเป็นกริยาที่ทำหน้าที่เป็นประธานของประโยค)
นอนเป็นการพักผ่อนที่ดี (นอนเป็นกริยาทำหน้าที่เป็นประธานของประโยค)

หน้าที่ของคำกริยา มีดังนี้
๑. ทำหน้าที่เป็นกริยาสำคัญของประโยค เช่น คนกินข้าว นกบินมาเป็นฝูง เป็นต้น
๒. ทำหน้าที่เป็นประธานของประโยค เช่น กินมากทำให้อ้วน เป็นต้น
๓. ทำหน้าที่เป็นกรรมของประโยค เช่น ฉันชอบเต้นแอร์โรบิกตอนเช้า เป็นต้น
๔. ทำหน้าที่ช่วยขยายกริยาสำคัญให้มีความหมายชัดเจนยิ่งขึ้น เช่น พี่คงจะกลับบ้านเย็นนี้ เป็นต้น
๕. ทำหน้าที่ช่วยขยายคำนามให้เข้าใจเด่นชัดขึ้น เช่น ฉันชอบกินก๋วยเตี๋ยวผัด น้องชายชอบบะหมี่แห้ง เป็นต้น


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น